วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ที่มาและความสำคัญ



ที่มาและความสำคัญ

มลพิษคืออะไร
คําว่า มลพิษเป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ใช้แทนคําศัพท์เดิม ว่า มลภาวะซึ่งตรงกับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Pollution” มาจากคําว่า “Pollute” หมายถึง ทําให้สกปรก ซึ่งได้แก่ ขบวนการต่างๆ ที่มนุษย์กระทําทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ปล่อยของเสียซึ่งไม่พึงปรารถนาเข้าไปหมักหมมในบรรยากาศ พื้นดินและในน้ำ มีผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง โดยมีผู้ให้ความหมายคําว่า มลพิษไว้หลายท่านดังนี้
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ได้ให้ความหมายของมลพิษ ไว้ว่า ของเสีย วัตถุอันตรายและมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้และให้หมายความถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง คลื่น ความสั่นสะเทือนหรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย
มลพิษของสิ่งแวดล้อม หมายถึงภาวะแวดล้อมที่มีความไม่สมดุลของทรัพยากรและมีสารพิษ ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ พืช และสัตว์ (เกษม จันทร์แก้ว, 2525 : 116)
มลพิษของสิ่งแวดล้อม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ อันเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย็ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และความสมบูรณ็ของสิ่งมีชีวิต มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ หรือผ่านมาทางน้ำ ผลิตผล จากพืชและสัตว์ (Andrews, 1972 : 4)
                มลพิษ หมายถึงสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ เคมี หรือชีวะในดิน หรืออากาศ อันจะยังผลให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือ ทรัพย์สิน อีกทั้งสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์พึงประสงค์ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อม (อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ, 2531: 13)
                มลพิษ หมายถึงภาวะของสภาพแวดล้อมที่มีองค์ประกอบไม่เหมาะต่อการนํามาใช้ประโยชน์ แต่กลับเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือก่อความรําคาญแก่มนุษย์ เช่น อากาศมีก๊าซต่างๆ ที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังรบกวนมาก ดินที่มีการสะสมของยาปราบศัตรูพืช และน้ำที่มีคราบน้ำมันหรือโลหะหนัก เป็นต้น (สมสุข มัจฉาชีพ, 25425 : 189)
                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มลพิษสิ่งแวดล้อมหมายถึงภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งปนเปื้อนด้วยมลสารหรือพลังงานที่มีผลทําให้สุขภาพทางกาย ใจ และสังคมเสื่อมลง ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประเภทของสารมลพิษ
สารมลพิษต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมได้ 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. พวกที่สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีการทางชีววิทยา (Degradable or  Bio Degradable Pollutants) สารมลพิษประเภทนี้ ได้แก่ ของทิ้งเสีย (Waste) ทั้งของแข็งและของเหลวที่เป็นอินทรีย์สารต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เป็นอินทรียสาร น้ำทิ้งจากชุมชน น้ำทิ้งจากโรงงานแปรรูปอาหาร เป็นต้น
                2. พวกที่ไม่สามารถจะย่อยสลายได้โดยขบวนการทางชีววิทยา (Nondegradable or Nonbio Degradable Pollutants) สารมลพิษเหล่านี้ ได้แก่ สารปรอท ตะกั่ว  สารหนู แคดเมียม ดีดีที เป็นต้น
                3. สารมลพิษที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซพิษต่าง ๆ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คลอรีน เป็นต้น

มลพิษทางอากาศ
โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยา กาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า อากาศเสียหรือ มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น
แหล่งกำเนิดสารมลพิษในอากาศ (Sources of Air Pollution)
                สามารถแบ่งแหล่งกำเนิดสารมลพิษในอากาศเป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ ได้แก่
1. เกิดจากธรรมชาติ
                ไฟไหม้ป่า การหมักของสารอินทรีย์ในดินและน้ำซึ่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซแอมโมเนีย  สารมลพิษที่เกิดจากธรรมชาติจะมีผลกระทบต่อมนุษย์น้อยมาก นอกจากนี้ยังมีมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เช่น การระเบิดของภูเขาไฟที่ก่อให้เกิดควันและ 2/4 ฝุ่นละอองที่มีสารกำมะถันปนออกมาด้วย
2. เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้แก่
                2.1 การคมนาคมขนส่ง เกิดจากพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือยนต์ สารมลพิษที่สำคัญออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ได้แก่  ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เม่า ควัน ฝุ่นละออง และโลหะหนัก
                2.2 เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งสำคัญมากที่ปล่อยสารพิษออกสู่อากาศ ได้แก่ อุตสากรรมเคมี อุตสากรรมไฟฟ้า อุตสากรรมถลุงโลหะ อุตสากรรมกลั่นน้ำมัน อุตสากรรมปูนซีเมนต์ อุตสากรรมแปรรูปอาหาร ในขบวนการผลิตจะมีสารพิษออกมา เช่น ฝุ่นละออง เม่า ควัน ไอกรด ไอของสาร ประกอบตะกั่ว ออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของคาร์บอน เป็นต้น
                2.3 เกิดจากกิจกรรมด้านการเกษตร การเผาเศษเหลือทางการเกษตร การฉีดสารปราบ ศัตรูพืช ทำให้ละอองสารปราบศัตรูพืช ฝุ่นละอองลอยไปตามกระแสลม
                2.4 เกิดจากกิจกรรมกำจัดขยะมูลฝอย เมืองที่ไม่มีมาตรฐานในการกำจัดของเสีย ก๊าซมลพิษจากกองขยะ หรือ เขม่า ควัน ฝุ่นละอองการเผาขยะมูลฝอยจะปนเปื้อนไปในอากาศ และเป็นอันตรายได้
                2.5 เกิดจากกิจกรรมการก่อสร้าง อาคารสถานที่ ถนน ทางคมนาคม การถมดิน การผสมปูน การทาสี การบด ฯลฯ ทำให้เกิดฝุ่น ละอองสีที่มีพวกโลหะหนัก น้ำมันระเหย เช่น เบนซิน แลกเกอร์ ฯลฯ เป็นต้น

มลพิษทางอากาศจากรถยนต์
                 ในปัจจุบันมลพิษทางอากาศจากรถยนต์นั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นมากโดย เฉพาะในกรุงเทพ เพราะกรุงเทพเป็นศูนย์กลางของธุรกิจและความเจริญและการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ มีการหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ขึ้นน้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายจะเข้าสู่บรรยากาศ เนื่องจากมลพิษทางอากาศจากรถยนต์นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆมากมายทั้งด้าน สุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจและระบบหัวใจและปอด ดังนั้นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

สาเหตุของมลพิษทางอากาศจากรถยนต์
                ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารที่ออกจากรถยนต์ที่สําคัญได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกํามะถัน สารพวกไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ 55 % ออกมาจากทอไอเสีย 25 % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก 20 % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และไน ตรัสออกไซด์ (N2O) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินชนิดซุปเปอร์ยังเพิ่มปริมาณตะกั่วในอากาศอีกด้วย

สารมลพิษที่อยู่ในบรรยากาศที่เกิดจากรถยนต์
คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน เป็นก๊าซที่ไม่มีสีรสและกลิ่นเบากว่าอากาศทั่วไป เมื่อหายใจเข้าไป  ก๊าซนี้จะรวมตัวฮีโมโกลบิน (haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าออกซิเจนถึง 200-250  เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhemoglobin) ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับ  O2ได้ตามปกติร่างกายได้รับ O2 น้อยลงและหัวใจ ต้องสูบฉีดโลหิตมากขึ้น เพื่อทำให้โลหิตผ่านปอดมากขึ้น จะได้มีการรับ O2ให้มากขึ้นหัวใจและปอดจะต้องทำงานหนักขึ้น  โดยทั่วไปองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดคาร์บอกซีฮีโมโกลบินในเลือดมากหรือ น้อยขึ้นอยู่กับ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในอากาศที่สูดหายใจเข้าไป และระยะเวลาที่อยู่ในสภาวะนั้น สำหรับอาการสนองตอบของมนุษย์ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์คาร์บอกซีฮีโมโกลบิน และความไวรับของแต่ละบุคคล (INdividual Susceptibility) เป็นสำคัญ อาการทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับ CO คือ  จะทำให้อึดอัดเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย โลหิตเปลี่ยนรูปแข็งตัวขึ้น ไหลไม่ได้ เซลล์ก็ขาดอ๊อกซิเจน เพราะสมองได้รับออกซิเจนน้อย ถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศสูงมาก ผู้ที่ได้รับจะมีอาการรุนแรง หมดสติ และ ถึงตายทันที ได้โดยไม่ต้องมีอาการนำ
รถยนต์ช่วงใดที่ปล่อยก๊าซนี้มากที่สุด มีดังนี้
                    1.    รถยนต์เครื่องดีเซลล์ ช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือรถประจำทาง รถบรรทุก ที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป
                    2.    รถยนต์เครื่องเบนซินช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุดคือ รถที่อยู่ระหว่างเบาเครื่องจอดติดเครื่องขณะรถติด
                    3.    รถยนต์ใช้น้ำมันผสมช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือ สามล้อเครื่อง ขณะบรรทุกหนักและจอดรอสัญญาณไฟ

                    ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ทำให้สุขภาพของกรุงเทพเสื่อมทรุดลงเพราะจุดที่เกินมาตรฐานมีมากแห่ง เมื่อสูดเข้าไปทุกวัน ๆ ย่อมทำให้เกิดพิษภัย คือรู้สึกปวดศีรษะ จิตใจไม่สบาย อ่อนเพลีย มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ดูคนในกรุงเทพขณะนี้เป็นคนมีสุขภาพบกพร่องเป็นคนยิ้มยากไปเสียแล้ว  แม้ว่าก๊าซนี้จะไม่ทำให้คนดับดิ้นขาดใจตายในทันทีทันใดก็ตาม แต่นับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น และนับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น และนับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น เพราะรถยนต์เพิ่มขึ้น เพราะรถยนต์เพิ่มขึ้น การถ่ายเทอากาศไม่ดี มีตึกรามบ้านช่องมากขึ้น ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มอันตรายหากไม่ได้รับวางแผนแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ

ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)
ออกไซด์ของไนโตรเจนประกอบด้วย ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไนตริกออกไซด์ (NO) ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ (N2O3) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ไดไนโตรเจนไดออกไซด์ (N2O2) ไดไนโตรเจนเตตราออกไซด์ (N2O4) และ ไดไนโตรเจนเพนต๊อกไซด์ (N2O5) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น ก๊าซ ถ่านหิน ฟืน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ของออกไซด์ของไนโตรเจนซับซ้อนมาก และขึ้นอยู่กับสารมลพิษอื่นๆ เช่น ไฮโดรคาร์บอน โอโซน สารประกอบซัลเฟอร์ เป็นต้น รวมทั้งสภาวะทางธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ก็เป็นองค์ประกอบตัวหนึ่งเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะไนตริกออกไซด์ (NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
ไนตริกออกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งส่วนมากเมื่อทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนในอากาศ จะเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ และมีผลต่อมนุษย์ ซึ่งพบว่าค่าต่ำสุดที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปวดโรคหืด คือ 190 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (0.1 ส่วนในล้านส่วน) ในระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อวันที่หายใจเอาก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เข้าไป อย่างไรก็ตามจากการประชุมขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2515 ที่กรุงโตเกียว ได้สรุปว่า ถึงแม้จะมีการทดลองกับผู้ป่วยโรคหืด และพบว่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่ระดับ 190 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในระยะ 1 ชั่วโมง มีผลทำให้เกิดหลอดลมตีบตันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดควรมีการทดสอบต่อไปอีก
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
                เป็นก๊าซพิษที่มีกลิ่นเหม็นมาก สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารที่มีธาตุไฮโดรเจน (H) และธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีจำนวนมากมายหลายร้อยชนิด โดยมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ตามจำนวนและโครงสร้างของธาตุที่มาประกอบ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีทั้งที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น พาราฟีน มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ในรูปของของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆและบางชนิดยังสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ในอุณหภูมิ ปกติ เช่น มีเธน บิวเทน เมทานอล อีเทน โพรเพน ฯลฯ

                สารประกอบไฮโดรคาร์บอนในบรรยากาศมีทั้งที่ เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ เช่น ก๊าซมีเธน เกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ ซากพืช ซากสัตว์ และพบได้ในก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ก๊าซมีเธน เป็นก๊าซชนิดหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลง

                นอกจากนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากกิจกรรม ของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในโรงงานยานพาหนะ เช่น จากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลง การเผาไหม้ถ่านหิน การระเหยของน้ำมันปิโตรเลียม การระเหยของสารละลายอินทรีย์ที่เป็นไอระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ ไม่หมด ออกมาทางท่อไอเสียเรียกว่า "ควันขาว" ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการมึนเมาสามารถก่อให้เกิดมะเร็งที่ปอดได้เนื่องจากสารประกอบไฮโดร คาร์บอนมีมากมายหลายชนิดในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้ผลกระทบที่เกิดจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ บางชนิดอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางเดินหายใจ เกิดอาการแสบตา แสบจมูก น้ำตาไหล น้ำมูกไหล และบางชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มาก เนื่องจากเป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น เบนซิน สารประกอบเบนซิน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่น้ำมันเบนซิล สารปรกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ

                ไฮโดรคาร์บอน เป็นสารที่เป็นองค์ประกอบของเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันจะระเหยปะปนในอากาศ เนื่องจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เกิดหมอกควันขาว กระทบต่อสภาพแวดล้อม ไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งคือ เบนโซไพริน (Benzopyrene) เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
ไฮโดรคาร์บอนนี้จะทำปฎิกิริยากับออกไซด์ของ ไนโตรเจนและออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นแก๊สต่างๆ ทำให้เกิดเป็นหมอกควัน (Photochemical smog) ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินลมหายใจ ตา นอกจากนี้ยังมีผลในการทำลายคลอโรฟิลล์ของพืชและทำให้เนื้อเยื่อของใบตายเป็น จุดจนถึงทั้งใบ ทำให้อาคารสีซีดและโลหะผุกร่อน
ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter)
               
ฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานครและ
เมืองใหญ่ๆ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมประกอบด้วยสารต่างๆ ทั้งที่เป็นของแข็ง และ ของเหลว ที่กระจายอยู่ในบรรยากาศ เป็นกลุ่มของโมเลกุลที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอนไปจนถึง ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน
ฝุ่นรวม (Total Suspended Particulate: TSP) มีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน
ฝุ่นหนัก (dust fall) ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนขึ้นไป
                แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. ฝุ่นละอองตามธรรมชาติ ( natural particle ) เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากควันป่า ฝุ่นเกลือ จากทะเล
2. ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ ( man-made particle ) การคมนาคมขนส่ง การก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิง โลหะหนักและสารประกอบของโลหะหนัก เช่น แคดเมียม (Cd)  ตะกั่ว  (Pb)  โครเมียม(Cr) ทำให้เกิดฝุ่นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นในรูปของอนุภาคและจะแตกตัวในน้ำและดินโดยไปสะสมอยู่ได้ทั้งแบบแห้งและเปียก (dry and wet depositions)และก่อให้เกิดปัญหาน้ำและดินปนเปื้อนส่วนใหญ่แคดเมียมมาจากโรงงานถลุงสังกะสี โรงงานผลิตรงควัตถุแคดเมียม (cadmium  pigment) เป็นต้น  ตะกั่วมาจากโรงงาน ถลุงตะกั่ว โรงงานผลิตรงควัตถุ (pigment) โรงงานแก้ว และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเติมสารตะกั่ว ส่วนแหล่ง โครเมียม ได้แก่โรงงานผลิตรงควัตถุโครเมี่ยม (chromium pigment) เป็นต้น

                ผลเสียของฝุ่นละอองในด้านต่างๆ แบ่งได้ดังนี้คือ
1. ผลต่อสภาพบรรยากาศทั่วไป ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากเป็นอนุภาคของแข็งที่ดูดซับ และหักเหแสงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่น และองค์ประกอบของฝุ่นละออง
2. ผลต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง ทำให้เกิดความสกปรกแก่ อาคาร และสิ่งก่อสร้าง และทำอันตรายต่อวัตถุ และสิ่งก่อสร้างได้  เช่นกัดกร่อนผิวหน้าของโลหะหินอ่อนหรือวัตถุอื่นๆ เช่น รั้วเหล็ก หลังคาสังกะสี รูปปั้น ฯลฯ
3. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์  ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาและ ยังส่งผลต่อระบบหายใจซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง   ละอองขนาดใหญ่จะถูกดักไว้ที่ขนจมูกส่วนฝุ่นละอองที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้ระคายเคืองแสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะหรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง

สารประกอบของตะกั่ว (Tetraethyl Lead)
                มีสูตรเคมีคือ Pb(C2H5)4 โดยผู้ผลิตน้ำมันได้เติมสารประกอบของตะกั่วที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เตตร้าเอทิลเลต (Tetraethyl Lead) ซึ่งเป็นของเหลวใส่ลงไปในน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่อง (ที่ใช้กับเครื่องยนต์) เพื่อให้มีออกเทนสูง (Octane bumber) สูง วิ่งเร็ว ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ เกิดการชักกระตุก (Antiknock Additive Substance) แต่เนื่องจากการเผาไหม้ในคอมบิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ไม่สมบรูณ์จะมีสารประกอบของตะกั่วหลุดออกมา พวกตะกั่วเหล่านี้จะทำให้อากาศสกปรก โดยแผ่กระจายไปในอากาศทั่วบริเวณนั้น ๆ ยิ่งจำนวนรถยนต์ของกรุงเทพมหานครหรือเมืองใหญ่ ๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สารประกอบของตะกั่วก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน ตามสถิติในน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วละลายอยู่ 0.7 กรัมต่อลิตร หลังจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์แล้วตะกั่วประมาณ 0.4 กรัมต่อลิตร จะถูกปล่อยออกมายังสิ่งแวดล้อมทางท่อไอเสียรถยนต์ในปี 2520 ประเทศไทยยังใช้น้ำมันเบนซินประมาณ 1,600 ล้านลิตรต่อปึ หรือ 60% ของจำนวนนี้ เป็นส่วนที่ใช้ในกรุงเทพมหานคร  ฉะนั้นจะมีสารตะกั่วประมาณ 38,400 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 105.2 กิโลกรัมต่อวัน หลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับสถิติปี 2522 มีการใช้น้ำมันเพิ่มเป็น 13,600 ล้านลิตรต่อปี จะมีตะกั่วหลุดออกมามากมายเท่าใด และตะกั่วเหล่านี้ บางส่วนจะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมในกรุงเทพ และบางส่วนจะเจือปนเข้าไปในร่างกายของคนในเมืองหลวงโดยทางลมหายใจ ส่วนที่ไม่ได้เข้าไปสู่ร่างกายของคนก็จะตกลงทับถมบนถนน หนทางและบริเวณต่าง ๆ ฝนก็จะชะเอาตะกั่วส่วนนี้ลงสู่แม่น้ำลำคลอง และเจือปน ซึ่งมีผลต่อระบบสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง
                อันตรายของตะกั่ว ที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง ไหลลงทะเล สัตว์น้ำ เช่นปู ปลา กุ้ง หอย ก็รับเอาสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนกินสัตว์น้ำพวกนี้เข้าไปก็ได้รับอันตรายจากพิษของตะกั่วเข้าไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีตะกั่วสะสมอยู่มาก คือ ปลา และหอยนางรม ที่คนเราชอบรับประทานนั่นเอง

                พิษของสารตะกั่วที่มีต่อสุขภาพที่เห็นได้ชัดเจนมาก คือ นอนไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์ไม่แจ่มใส เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ท้องผูก อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงือกซีด โลหิตจาง ไตพิการ ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ปวดศีรษะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตจนถึงตายได้ นอกจากนี้ตะกั่วยังไปสะสมได้ในกระดูก ทั้งนี้เพราะตะกั่วมีลักษณะคล้ายแคลเซี่ยมและสามารถสะสมในเนื้อเยื่ออ่อนโดยเฉพาะในสมอง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย
                ปกติระดับของตะกั่วในเลือด จะต่ำกว่า 0.08 มิลลิกรัม / 100 ีซ.ซี. ถ้าเกินระดับนี้ถือว่าเป็นอันตราย จากการศึกษาระดับตะกั่วในเลือดของเด็กจำนวน 69 คน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ถมด้วยกากแบตเตอรี่ในเขตตำบลบางครุ 0.15 - 5.40 ส่วน ในล้านส่วน ค่าเฉลี่ย 1.28 ส่วนในล้านส่วน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.20 ส่วนในล้านส่วน เด็กที่มีตะกั่วในเลือดต่ำกว่า 0.5 ส่วนในล้านส่วน มีอยู่ร้อยละ 29 ของจำนวนเด็กทั้งหมดโดยทั่วไปแล้ว เราอาจจะพิจารณาได้ว่าระดับของตะกั่วในเลือดขนาดตั้งแต่ 1.5 ส่วนในล้านส่วน อยู่ในขั้นพื้นฐานแลทางการแพทย์อาจพบอาการที่เกิดจากพิษตะกั่วได้

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide , SO2)
                เป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ทำให้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำคออักเสบ ระคายเคือง ทั้งนี้เนื่องมาจากในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์มีกำมะถันปนอยุ่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีก๊าซกำมะถันปนอยู่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีก๊าซกำมะถันหลุดออกมาทางท่อไอเสียรถยนตื ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันต้องกำจัดกำมะถันในน้ำมันดิบออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก๊าซนี้มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เพราะเป็นตัวนำที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ทำให้สัตว์เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในอัตราสูง ถ้าสูดเข้าไปเสมอ ๆ ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถ้ามากทำให้ลิ้นไก่สั้นเกิดการเกร็งหดปิดทางเดินหายใจตายทันที สำคัญที่สุดเป็นอันตรายต่อปอดในรายที่คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอยู่แล้ว จะมีอาการเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขนาด 0.25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ขนาดได้กลิ่นฉุน) บางตำราบอกว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหอบหืด
ผลที่เกิดต่อมนุษย์ คือ ทำให้เกิดการระคายเคืองจมูก คอ และตา ถ้าได้รับ SO2 ในปริมาณมากจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับกรณีคนที่เกิดโรค Emphysema ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการหายใจมักจะเกิดกับบุคคลที่สุขภาพไม่ดี ขนาดขีดจำกัดที่เกิดอันตราย (Threshold) ของ SO2 ในอากาศประมาณ 8 ชั่วโมงประมาณ5 ppm. ส่วนมากเกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินซึ่งมีประมาณ 224,000,000 ตันต่อปี

ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจากรถยนต์
สารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์สามารถทำให้วัสดุต่างๆเสียหายได้ เกิดความสกปรก การสึกกร่อนหรือเกิดปฎิกิริยาเคมี ทำให้อาคารผุกร่อน ได้แก่ ควัน ฝุ่นละออง หรืออนุภาคที่เป็นกรดหรือด่างทำให้ข้าวของชำรุดเสียหาย เช่น สะพานเหล็ก สีทาบ้าน ยางรถยนต์ เป็นต้น อากาศเป็นพิษ หรืออากาศเสีย ทำให้เกิดความสกปรกแก่บ้านเรือนของใช้เครื่องเรือน เสื้อผ้า กระจก ทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด วัตถุ โลหะ ผุกร่อน เป็นสนิม
สารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ยังมีผลต่อสุขภาพอนามัยของคนและสัตว์ ปกติมลพิษทางอากาศจะเข้าสู่ร่างกายได้จากระบบหายใจ ซึ่งแบ่งเป็นระบบทางเดินหายใจส่วนบน (ช่องจมูก และหลอดลม) และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (Bronchial tubes และปอด) เมื่อร่างกายหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมปะปนเข้าไป ระบบหายใจจะมีวิธีการต่อต้านโดยระบบทางเดินหายใจส่วนบนจะกรองฝุ่นที่มีขนาด ใหญ่ (มากกว่า 5 ไมครอน) ไว้ ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กที่รอดจากการกรองเข้าไปถึงปอดทำให้เกิดการระคายเคือง ได้อากาศเป็นพิษ ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจในปริมาณสูง สถิติผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจใกรุงเทพมหานครสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของทุกปี ทางการแพทย์พบว่า หากมนุษย์ขาดอากาศซึ่งมีออกซิเจนสำหรับการหายใจ เพียง 2-3 นาทีก็อาจตายได้ ถ้า 5 นาทีตายแน่ อากาศในกรุงเทพเป็นพิษอย่างมากหลายจุด โดยมากเกิดจากไอเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ถ้ามลพิษทางอากาศมากเกินขีด อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต อันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ เมื่อมนุษย์และสัตว์หายใจเอาอากาศที่สกปรกมีฝุ่นละอองหมอกควันก๊าซต่างๆ ตลอดจนสารเป็นพิษเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ โรคมะเร็งที่ปอด โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ ปอด มึนงง ไอเป็นเลือด เหล่านี้เป็นต้น อากาศเสียทำให้การเจริญเติบโตของพืชชะงักงัน เพราะอากาศเสียเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของพืชโดยตรง ดังจะเห็นได้จากต้นไม้ที่ปลูกที่มีการจราจรหนาแน่น มักจะแคระแกร็นมีการเจริญเติบโตช้าหรืออาจตายไปเลย สิ่งมีชีวิตเช่นพืชก็ได้รับผลจากมลพิษทางอากาศได้ 2 ลักษณะเช่นกันคือ เฉียบพลัน และเรื้อรัง ในลักษณะหลัง อาจจำแนกอาการของโรคพืชออกจากสาเหตุอื่นๆ ได้ยาก สารมลพิษเข้าสู่พืชทางรูใบ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้หายใจ อาการจะปรากฎอย่างเห็นได้ชัดที่ใบ และขึ้นอยู่ในอากาศมีสารมลพิษ เช่น ก๊าซโอโซน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์มาก ผลฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นคือ ใบยุบ และเกิดลายเหี่ยวแห้ง โดยเฉพาะส่วนขอบหรือยอด แต่ในชั้นแรกอาจจะบวมน้ำ หรือช้ำเสียก่อน เม็ดสีของพืชใบเขียวคือ คลอโรฟีลล์ เป็นอีกส่วน ซึ่งได้รับผล สีใบจึงซีดจางลง คล้ายคลึงกับอาการที่พืชขาดอาหาร และมีลักษณะแบบเดียวกับคนเป็นโรคโลหิตจาง เมื่อใบซีดลง อาจเกิดสีอื่นๆ ขึ้น ในระยะยาวพืชไม่เติบโต และการแตกตาชะงักงัน อาการนี้อาจปรากฏให้เห็นในรูปใบหรือก้านยาวขึ้น หรือใบงอและร่วง เป็นต้น
สุดท้ายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ก็มีผลต่อบรรยากาศ ได้แก่
  • การลดระยะที่สามารถมองเห็นได้ (Visibility reduction) เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศ ทำให้เกิดอันตรายในการขับยานพาหนะ
  • ทำ ให้เกิดหมอกควัน มลพิษทำให้บรรยากาศมืดมัวลงเห็นได้ชัดในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นต้องใช้ ไฟฟ้าให้แสงสว่างมากขึ้นทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากขึ้น
  • บดบังปริมาณแสงอาทิตย์
  • ทำ ให้อุณหภูมิในบรรยากาศสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการใช้สาร CFC (Chlorlo fluorohydrocarbon) เพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ.2534 มีการใช้ CFC 0.21 กก./คน/ปี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตการณ์เรือนกระจก สาร CFC สถานะเป็นแก๊ส ใช้ประโยชน์เป็นตัวทำความเย็นในตู้เย็นใช้เป็นแก๊สในการทำโฟม และที่ใช้มากที่สุดคือใช้เป็นแก๊สนำสเปรย์ต่างๆ
  • ทำ ให้เกิดสภาวะฝนกรด (Acid rain) โดยปกติน้ำฝจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เจือปนอยู่ตามธรรมชาติ จึงทำให้มีสภาพเป็นกรด โดยทั่วไป น้ำฝนที่ pH ต่ำกว่า 5.6 จัดเป็นฝนกรด เพราะในปัจจุบันพบว่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์เป็นตัวการทำ ให้ฝนเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
     ในปัจจุบันมลพิษทางอากาศจากรถยนต์นั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ เนื่องจากมลพิษทางอากาศจากรถยนต์นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆมากมายทั้งด้านสุขภาพอนามัย
ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจและระบบหัวใจและปอดดังนั้นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

วัตถุประสงค์
1.เพื่อต้องการทราบถึงสาเหตุของปัญหามลพิษทางอากาศจากรถยนต์
2.เพื่อต้องการทราบถึงผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศจากรถยนต์และปัญหาวิธีป้องกันตนเองให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
3.เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศจากรถยนต์ว่ามีผลเสียต่อร่างกายคนเรา